อังกฤษห้ามร้านสัตว์เลี้ยงขายลูกสุนัข-แมว ยับยั้งการผลิตลูกสัตว์ที่เกิดจากสภาพการเลี้ยงดูไร้ศีลธรรม

สหราชอาณาจักร - หนังสือพิมพ์ The Phuket News นำเสนอข่าว AFP ว่าด้วยเรื่องที่ประเทศอังกฤษเตรียมที่จะประกาศกฏหมายห้ามขายลูกหมาและลูกแมวในร้านขายสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมจากสัตว์และการทารุณกรรมสัตว์

ข่าวภูเก็ต

วันเสาร์ ที่ 5 มกราคม 2562, เวลา 09:00 น.

ภาพ AFP

ภาพ AFP

รัฐบาลอังกฤษ กล่าวยืนยันว่า ทางรัฐบาลจะมีการออกกฎหมายบังคับห้ามขายลูกแมวในปีหน้า หลังจากที่ได้ดำเนินการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสาธารณะ โดยมีเสียงสนับสนุนกว่า 95% เพื่อการสั่งห้ามจำหน่ายดังกล่าว

กระทรวง Defra ของประเทศอังกฤษที่ดูแลเรื่องของสิ่งแวดล้อม อาหาร และชนบท กล่าวในงานผลักดันสวัสดิภาพสัตว์เมื่อช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมาว่า “ คนที่ต้องการซื้อหรือรับเลี้ยงลูกสุนัขหรือลูกแมวอายุต่ำกว่า 6 เดือนจะต้องติดต่อโดยตรงกับผู้ที่ดูแลเรื่องการผสมพันธ์ุหรือศูนย์พึ่งพิงสัตว์โดยตรง”

เรารู้จักมาตรการนี้โดยทั่วกันในนามลูซี่ลอว์ “Lucy’s Law” เพื่อเป็นเกียรติแก่สุนัขพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากฟาร์มลูกสุนัขในเวลส์ เมื่อปี 2556

ลูซี่ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559 โดยเธอนั้นใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ภายในกรง จนลูซี่ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้เนื่องจากเธอไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย นักเคลื่อนไหวอย่างลิซ่า การ์เนอร์ พาลูซี่กลับบ้าน และเผยแพร่การรณรงค์โลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชาวอังกฤษเปลี่ยนแปลงมุมมองการได้มาซึ่งสัตว์เลี้ยงของพวกเขา

รัฐบาลกล่าวว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะช่วย “ยุติพฤติกรรมอันโหดร้ายที่พบเห็นได้ในฟาร์มผลิตลูกสุนัข และช่วยแก้ไขปัญหาประชากรของสัตว์ภายในศูนย์พักพิงที่มีอยู่ในตอนนี้”

“ทุกชีวิตมีสิทธิ”

รัฐบาลเชื่อว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวจะหยุดยั้ง ‘พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไร้คุณภาพจำนวนมาก’ ทั้งที่มีใบอนุญาตและไม่ได้รับใบอนุญาต จากการระดมผลิตลูกสุนัขและแมวที่เกิดจากการเลี้ยงดูโดยไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา สู่ตลาดร้านขายสัตว์เลี้ยงได้
Defra ไม่เปิดเผยตัวเลขประมาณการว่า กฎหมายนี้จะมีผลกระทบธุรกิจการขายสัตว์เลี้ยงเพียงใด อย่างไรก็ตาม นายแคลร์ ฮอร์ตัน หัวหน้าศูนย์พักพิงสุนัข Battersea ในลอนดอน กล่าวว่าข้อบังคับเหล่านี้จะทำให้ “มั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักในประเทศอังกฤษจะได้รับสิทธิในชีวิตมากขึ้น”

ซึ่งศูนย์พักพิงแห่งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อรายการโทรทัศน์ยอดนิยมหลากหลายช่องในประเทศอังกฤษ ในด้านของการช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงและการดูแลรักษา เพราะมันมีผลสัมพันธ์กับสภาพปัจจุบันของธรรมเนียมการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยง อย่างสุนัขและแมวของชาวอังกฤษ

มูลนิธิพีดีเอสเอ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลของประเทศอังกฤษ กล่าวว่า 49% ของผู้ใหญ่ชาวอังกฤษมีสัตว์เลี้ยงเป็นของตัวเองอย่างน้อยคนละ
1 ตัว พร้อมทั้งได้เปิดเผยตัวเลขประชากรแมวที่ 11.1 ล้าน สุนัข 8.9 ล้าน และ กระต่าย 1 ล้านตัว ซึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งจากปี 2554

หลายเดือนก่อนรัฐบาลอังกฤษได้ริเริ่มเปิดเผยจำนวนสัตว์ในศูนย์พักพิง ซึ่งเหล่าบรรดานักเคลื่อนไหวก็หวังว่ากลุ่มประเทศในยุโรปอื่น ๆ จะทำตามในไม่ช้า

ทั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีข้อบังคับสั่งห้ามร้านค้าที่ได้รับอนุญาตจำหน่ายลูกสุนัขและลูกแมวที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้ Defra เองกำลังเล็งที่จะออกกฎหมายบังคับให้ศูนย์ช่วยเหลือที่ไม่หวังผลกำไรและบ้านพักพิงสัตว์จรจัดต่าง ๆ ต้องได้รับใบอนุญาตด้วย

เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนในครอบครัวยุติการซื้อสัตว์เลี้ยงน่ารักทั้งหลายให้แก่ลูก ๆ ของพวกเขาเพื่อเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลคริสต์มาส

“การกระทำนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อสวัสดิภาพของสัตว์ และมีความเป็นไปได้สูงว่าสัตว์เลี้ยงจำนวนมากจะถูกทอดทิ้ง หรือปล่อยเอาไว้ให้ศูนย์รับเลี้ยงเป็นผู้รับรับภาระในการดูแลสัตว์เหล่านี้” Defra กล่าว “สัตว์เลี้ยงไม่ควรจะถูกซื้อเพียงเพราะต้องการจะเซอร์ไพรส์ใครสักคน”

 

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่