ร่วมจดจำ ‘จิลล์’ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสุนัขในซอย กับภาพความดีงามตลอดช่วงชีวิตของเธอ

“นี่ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างสุดซึ้งที่เราต้องประกาศว่า จิลล์ ดัลลี่ย์ ได้จากเราไปแล้ว” คำกล่าวจากสื่อของมูลนิธิสุนัขในซอยในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ข่าวภูเก็ต

วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 09:00 น.

โดยนางดัลลี่ย์ ในวัย 58 ปีจากไปอย่างรวดเร็วในเวลา 1.00 น. ของวันที่ 13 ก.พ. ที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ร่างของเธอจะถูกนำไปที่บ้านของเธอ ที่ลากูน่าจนถึงวันที่ 18 ก.พ. โดยให้ญาติและเพื่อนเข้าเคารพศพในวันที่14 - 16 ก.พ. ตั้งแต่เวลา 19.00 น. - 20.30น.

ส่วนในวันเสาร์เช้า บ้านจะเปิดให้เพื่อนๆและญาติเข้าเคารพศพได้ตั้งแต่ 10.00น. เพื่อร่วมสรรเสริญให้กับชีวิตของคุณจิลล์และเพื่อร่วมกันสวดมนต์ที่จะนำสวดโดยพระ ก่อนจะนำร่างของคุณจิลล์ไปยังวัดเชิงทะเลในตอนเที่ยง นอกจากนี้อาจจะมีพิธีสั้นๆภายในวัดก่อนทำการฌาปนกิจ

นายจอห์น ซึ่งเป็นสามีและเจ้าของมูลนิธิสุนัขในซอยได้เขียนจดหมายถึงผู้ที่ร่วมกันสวดมนต์ให้แก่ภรรยาของตน มีเนื้อหาดังนี้

“ผมรู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถตอบทุกคนได้ครบ แต่ผมก็รับรู้ถึงความรู้สึกเสียใจอย่างท่วมท้นของทุกคนที่เข้ามาแสดงความห่วงใยและเคารพนับถือเธอจากทั่วโลก

เธอเสียชีวิตในอ้อมแขนของผมอย่างสงบหลังจากสู้จนกันถึงที่สุด อย่างที่เธอทำมาตลอด แต่นี่น่าจะเป็นการต่อสู้ที่ยากเกินไปสำหรับเธอ

ผมเข้าใจดีว่าผู้คนต้องการที่จะกล่าวคำอำลา แต่มันคือคำประสงค์ของจิลล์ที่ต้องการให้เธอถูกจดในภาพทุกทุกคนคุ้นเคย ไม่ใช่ภาพที่เธอเป็นในช่วงวันสุดท้ายของชีวิตเธอ

คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะกล่าวว่า หากไม่มีจิลล์ก็คงไม่มีมูลนิธิสุนัขในซอยในวันนี้ เมื่อตอนที่เธอต้องสูญเสียขาในปี 2547 ผมเตรียมความพร้อมที่จะปิดมูลนิธินี้ลง แต่จิลล์กลับไม่คิดอย่างนั้น

ผมยังจำหัวหน้าแพทย์ซึ่งเป็นชาวซิกห์ของเธอที่กรุงเทพได้ดี เขากล่าวว่าทีมแพทย์เองยังไม่เข้าใจได้ว่าเธอรอดชีวิตมาได้อย่างไร และเขาเชื่อว่าเธอยังมีจุดประสงค์ที่ต้องทำให้สำเร็จ จิลล์ตอบกลับเขาไปว่า “ใช่ ฉันมี”

ที่พักพิงในขณะนี้ ซึ่งก็คือโรงพยาบาลแมว และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีโรงพยาบาลสุนัข ได้ถูกออกแบบและมีอยู่ได้เพราะเธอ และถูกจัดสร้างด้วยความปรารถนาของเธอเองที่จะมอบที่หลบภัยให้แก่เหล่าสัตว์ซึ่งไม่มีใครสนใจ เธอคือผู้ยึดความสมบูรณ์แบบ เธอบอกว่าสัตว์ทั้งหลายจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่เธอสามารถให้ได้

เธอตรากตรำทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เป็นเวลา 3 ปี เพื่อออกแบบและควบคุมการก่อสร้างสิ่งที่น่าจะเป็นโรงพยาบาลสุนัขที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชีย เมื่อปี 2547 ยังมีหมออีกคนกล่าวกับเธอว่าคนที่ถูกตัดขาทั้งสองข้างในประเทศไทยแทบจะไม่ใส่ขาเทียมเพราะมันใส่ยากและค่อนข้างเจ็บ เขายังพูดกับเธอว่าเธอคงจะไม่เหมือนคนอื่น ครั้งนึงเธอเคยสอนตัวเอง เธอบอกผมให้เอาวีลแชร์ออกและจะไม่ใช้มันอีก

ไม่มีใครสัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดที่ขาที่ทรมานเธออยู่ตลอดเวลา ส่วนปลายของขาเธอที่ถูกตัดออกไปมักจะเต็มไปด้วยตุ่มพุพองและเจ็บปวดจากความร้อนและชื้นซึ่งไม่ค่อยเหมาะกับสภาพอากาศของที่นี่ โดยเฉพาะเมื่อผู้ถูกตัดขาต้องสวมถูกเท้าและผ้าพันแผลตลอดเวลา

แต่เธอไม่เคยบ่นอะไรเลยและปฏิเสธที่จะนั่งรถเข็นผู้ป่วยเสมอในยามที่ผมโน้มน้าวให้เธอพักผ่อน รถเข็นคันนั้นถูกเก็บเอาไว้ในห้องเก็บของมานานกว่า 12 ปี เราเพิ่งจะเอามันออกมาปัดฝุ่นใช้ใหม่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง

สามภาพนี้เป็นสามภาพจากหลายๆภาพของจิลล์ที่ผมมี

ใบแรกถ่ายเมื่อปี 2548 ไม่เกิน 3 สัปดาห์หลังจากที่จิลล์ออกจากการจัดการด้านคลินิกเคลื่อนที่หลังเหตุการณ์สินามิที่โรงพยาบาล ก่อนหน้านั้นเธอเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้รอดชีวิตและญาติของผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติที่ตะกั่วป่าและภูเก็ต เธอทำงานไม่หยุดเลยเป็นเวลากว่าสามเดือนและเลื่อนที่จะหัดเดินอีกครั้งเพื่อบรรลุภาระกิจ

ใบที่สองเป็นใบโปรดของผมเลย เธอโชว์สุนัขที่มีความสุขตัวหนึ่งจากจำนวนพันๆตัวที่เธอได้ช่วยเหลือเอาไว้ในระยะเวลากว่าหลายปี

ใบที่สามนี้ถือว่าเป็นพลังในการขับเคลื่อนของเธอเลย เธอเป็นแชมป์เปี้ยนสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเสมอ ไม่ว่าเค้าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ตาม สุนัขตัวนี้อาศัยอยู่ที่ชายฝั่งยอร์กเชียร์ สหราชอาณาจักร ซึ่งตอนนี้ SDF อุปถัมป์สุนัขราวๆ 50 ตัวต่อเดือนจากมูลนิธิที่เธอก่อตั้งขึ้นมา

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกๆคำพูดและความปรารถนาดี
จอห์น แดลลี่
ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสุนัขในซอย

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่