เก็บขยะชายหาด “งานสกปรก” ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าที่สุดของภูเก็ต

ภูเก็ต - “มันเป็นงานที่หนักและสกปรก และบางครั้งก็น่าตกใจ” มิเชล มูล์เล พูดถึงการทำความสะอาดรอบ ๆ เกาะภูเก็ต ด้วยระยะแนวชายฝั่งที่ยาวกว่า 95 กิโลเมตร ภูเก็ตจึงมีชายหาดที่สวยที่สุดในโลก และชายหาดที่สวยงามเหล่านี้ก็ได้ดึงดูดแขกผู้มาเยือนและมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยว แต่ว่าทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีค่าที่สุดของภูเก็ตกลับมีความเสี่ยงที่จะถูกบรรดเศษซากขยะทำลาย โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมที่ขยะจากที่อื่นลอยขึ้นมาเกยบนชายหาดในฝั่งของเรา

วันเสาร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568, เวลา 15:00 น.

มิเชล อายุ 27 ปี ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในภูเก็ตตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้

แนวทางแก้ไข

การล็อคดาวน์เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้มิเชลมีเวลาและพื้นที่ในการจัดการกับปัญหาขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง

“ไม่มีองค์กรใดที่ลงมาทำงานในเรื่องโดยเฉพาะ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว เราสามารถชวนทุกคนมารวมตัวกันเพื่อมุ่งเน้นไปที่ปัญหาการทำความสะอาดชายหาด และการจัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบได้” เธอกล่าว

“แต่ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ไม่มีใครมีเงินทุนที่จะช่วยเหลือได้ ดังนั้นฉันจึงสร้างมูลนิธิเพื่อระดมทุนจากที่อื่นเพื่อการนี้”

มิเชลก่อตั้งมูลนิธิไม้ขาวยั่งยืน (Sustainable Maikhao Foundation: SMF) เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

การทำความสะอาดชายหาดครั้งแรกที่ไม้ขาวเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2563 โดยมีโรงแรม 3 แห่งเข้าร่วมด้วย “เราทุกคนสวมหน้ากากและเดินไปที่บริเวณใจกลางชายหาด” มิเชล เล่า “มันดีมาก ๆ เป็นการเริ่มต้นความร่วมมือที่ดี และนำทุกคนมารวมกันในประเด็นปัญหานี้”

จากความพยายามเริ่มแรกนั้น SMF ได้ขยายขอบเขตออกไปครอบคลุมชายหาด 6 แห่งและเกาะอีก 2 เกาะ ซึ่งรวบรวมขยะรวมได้มากกว่า 25 ตัน ก่อนที่เศษซากพวกนี้อาจจะทิ้งตัวเกลื่อนหาดทรายขาวและพื้นทะเลของภูเก็ต และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล

มูลนิธิไม้ขาวยั่งยืน เมื่อสรุปออกมาเป็นตัวเลข:

- ทำความสะอาดชายหาด 280 ครั้ง

- อาสาสมัครทำความสะอาด 7,820 คน

- ขยะมากกว่า 25,000 กิโลกรัมถูกกำจัด

ออกจากชายหาด

- ขยะนี้มากกว่า 8,000 กิโลกรัม ถูกนำมารีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรืออัพไซเคิล (เพิ่มคุณค่า)

- มากกว่า 16,000 กิโลกรัม เผาหรือฝังกลบ

การเปลี่ยนความคิด

“ผู้คนไม่รู้ว่าชายหาดภูเก็ตมีขยะสะสมมากแค่ไหน” มิเชลกล่าวในสิ่งที่สร้างความตกใจที่มักมาพร้อมกับอาสาสมัครหน้าใหม่ การทำความสะอาดที่ SMF จัดขึ้นแต่ละครั้งจะมีการบรรยายสรุปเบื้องต้นที่อธิบายความเลวร้ายของปัญหาขยะ และพยายามเชื่อมโยงทุกคนเข้ากับปัญหานี้ เธอกล่าวว่า “บ่อยครั้ง” การทำความสะอาดชายหาดช่วยเปลี่ยนทัศนคติของผู้คน”

การทำความสะอาดขยะจากชายหาดภูเก็ตก็เรื่องหนึ่ง การกำจัดขยะทั้งหมดนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

Berda Claude International School of Phuket (BCIS)

ขยะที่เก็บมาจากการทำความสะอาดจะแบ่งออกเป็น 16 หมวดหมู่ จากนั้นจะถูกนำไปชั่งน้ำหนักและบันทึก เพื่อรวบรวมข้อมูลซึ่งจะถูกแบ่งปันกับองค์กรอื่น ๆ ในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ จากทั้งหมด 16 ประเภทขยะ มีเพียง 3 ประเภทเท่านั้นที่ถูกส่งไปยังเตาเผาขยะและหลุมฝังกลบ ขยะจาก 13 ประเภทที่เหลือจะถูกนำไปรีไซเคิล อัพไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่

พันธมิตร

ระยะเวลาสี่เดือนหลังจากการทำความสะอาดชายหาดครั้งแรก มูลนิธิไม้ขาวยั่งยืนได้จัดกิจกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขึ้นเป็นครั้งแรก กิจกรรมความร่วมมือเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับโรงแรม องค์กรภาครัฐ และบริษัทในท้องถิ่นและต่างประเทศ และเป็นเสาหลักสำคัญของความพยายามอย่างต่อเนื่องของมูลนิธิ

นอกจากพันธมิตรในท้องถิ่นแล้ว SMF ยังทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ภายนอก เพื่อจัดเตรียมองค์ประกอบ CSR สำหรับการประชุมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยทั่วไปแล้ว ผู้จัดงานเหล่านี้ต้องการสร้างโอกาสในการสร้างทีมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับผู้ร่วมประชุม ธนาคาร บริษัทพลังงาน ผู้ค้าปลีก และที่ปรึกษาด้านการจัดการคือองค์กรของไทยและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในส่วนของตนเพื่อช่วยปกป้องความงามตามธรรมชาติของภูเก็ตผ่านความร่วมมือขององค์กรเหล่านี้

การศึกษาเชิงนิเวศน์

การศึกษาถือเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งในพันธกิจของมูลนิธิไม้ขาวยั่งยืน นับตั้งแต่เปิดตัวการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษาเมื่อสามปีที่แล้ว มีการสัมมนามากกว่า 150 ครั้ง เกี่ยวกับการอนุรักษ์มหาสมุทรและการจัดการขยะ ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมทุกวัยมากกว่า 5,000 คน ที่เข้าใจและชื่นชมระบบนิเวศทางทะเลอันเปราะบางของภูเก็ตมากขึ้น หลังจากเข้าร่วมเวิร์คช็อปที่ทางมูลนิธิฯ จัดขึ้น

ด้วยการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลของภูเก็ต ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ และส่งเสริมการดำเนินการ SMF ทำงานเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าที่สุดของภูเก็ตอย่างยั่งยืน

ดีขึ้นหรือแย่ลง?

มิเชลซึ่งเป็นชาวแอฟริกาใต้โดยกำเนิด ตกหลุมรักไม้ขาวระหว่างการมาเยือนเกาะแห่งนี้ครั้งแรกเมื่อเกือบสามทศวรรษที่แล้ว เมื่อนึกถึงนาข้าว ควาย และเต่ามะเฟืองที่อาศัยอยู่มากมายในพื้นที่ เธอได้รับแรงบันดาลใจในการช่วยอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามแห่งนี้

ผู้เขียนถามผู้ก่อตั้ง Sustainable Maikhao ด้วยคำถามหลักในใจ: เกือบห้าปีผ่านไป ปัญหาจะใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง?

มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลาย ๆ ด้าน มิเชลยืนยัน “การตระหนักรู้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก มีกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียน มหาวิทยาลัย และองค์กรชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม และมีขยะระยะยาวน้อยกว่าเมื่อก่อน” เธอกล่าว ขยะระยะยาวคือเศษขยะที่สะสมบนชายหาดเมื่อเวลาผ่านไป และมักฝังอยู่ในพืชพรรณชายหาด

“แต่” เธอก็พูดแทรกขึ้นมาหลังจากหยุดไปสักพัก “ในปัจจุบันมีการใช้พลาสติกมากขึ้น ซึ่งบางส่วนไปจบลงที่น้ำทะเลและบนชายหาด ปริมาณการทำความสะอาดไม่สมดุลกับปริมาณการใช้พลาสติก งานเรากำลังก้าวหน้า แต่ก็มีงานที่ต้องทำอีกมาก”

คำพูดสุดท้ายของเธอในการให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้: “มีหลายสิ่งที่เราสามารถทำได้ แต่เราต้องการอาสาสมัครและพันธมิตรมากขึ้นเพื่อทำให้ได้มากกว่านี้”

มูลนิธิไม้ขาวยั่งยืน ยินดีต้อนรับพันธมิตรองค์กรและอาสาสมัครที่สนใจเข้าร่วมในความพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชน ในการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของภูเก็ต https://sustainablemai

khaofoundation.org/

เรื่อง: Todd Miller

ข่าวภูเก็ต: แปล


 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่