พร้อมแล้ว! ภูเก็ตเสนอตัวประกาศเป็นพื้นที่นำร่องโควิดโรคประจำถิ่น

ภูเก็ต – รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตประกาศความพร้อมขอเป็นจังหวัดนำร่องให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นตามเกณฑ์ชี้วัด ลดวันกักตัวเหลือ 5:5

โพสต์ทูเดย์

วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565, เวลา 09:32 น.

บรรยากาศการท่องเที่ยวหาดป่าตอง ภาพ เอกภพ ทองทับ

บรรยากาศการท่องเที่ยวหาดป่าตอง ภาพ เอกภพ ทองทับ

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จังหวัดภูเก็ตมีความภูมิใจที่เดินหน้าภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มาตลอดเราไม่เคยล้ม และเมื่อ 1 ก.พ.65 เริ่มมี Test&Go เข้ามาภูเก็ตปัญหาที่เกิดขึ้นที่หน้างานมีหลายปัญหา อาทิ ปัญหาขีดความสามารถการตรวจหาเชื้อที่สนามบิน ทำให้เกิดการติดขัดแออัดที่สนามบินโดยเฉพาะสายการบินที่ดีเลย์และมากระจุกกันอยู่อาจทำให้เกิดการแออัดและตรวจกันไม่ทัน เป็นปัญหาใหม่ แก้ไขกันหลายขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้

นอกจากนั้น มีปัญหาเปลี่ยนระบบการเข้าประเทศ จาก ระบบ COE เป็น ไทยแลนด์พาส ระบบการจองที่พักเดิมใช้ SHABA จองแล้วภูเก็ตรับทราบมีนักท่องเที่ยวจองเข้ามาได้จัดรถไปรอรับเขาที่สนามบิน แต่พอไม่มี SHABA ปลายทางไม่รับรู้จึงไม่จัดรถไปรับ ทำให้นักท่องเที่ยวต้องขึ้นแท๊กซี่กลายเป็นไม่ซีลรูทไม่มาที่พักแต่ไปที่อื่นเป็นปัญหาที่จะป้องกันได้อย่างไร

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า ปัญหาการอนุมัติไทยแลนด์พาสเข้าภูเก็ตมอบให้สคร.11 ทำอนุมัติไทยแลนด์พาสที่อนุมัติได้บางเรื่องแต่ในการประกันภัยไม่สามารถอนุมัติได้ทำให้อนุมัติล่าช้า ทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ตั้งทีมเป็นคอลเซ็นเตอร์ได้เแก้ไขกันมา ปัญหาแล็บตรวจ RT-PCR ไม่เพียงพอ และนักท่องเที่ยวบางคนเข้ามาแล้วปลอมเอกสาร บางคนไม่มีผลตรวจ RT-PCR ได้ถูกรีเจคกลับประเทศต้นทาง ปัญหาประกันภัยไม่ครอบคลุมการป่วยเล็กน้อยเคลมค่าใช้จ่ายไม่ได้ นักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อจึงออกมาเดินบนถนนเพราะฮอสพิเทลเต็ม ทางหน่วยงานต่างๆ หารือกันให้โรงแรมจัดห้อง รองรับคนติดเชื้อ ร้อยละ 5 เป็นโฮเทลรูมไอโซเลชั่น และโฮเทลไอโซเลชั่น แก้ไขปัญหากรณีประกันภัยไม่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วย

รองผู้ว่าฯภูเก็ตกล่าวว่า ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติติดเชื้อสูงยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกคือติดเชื้อที่เดย์ศูนย์ร้อยละ 1.5-2 -3 ตรวจครั้งที่สองพบติดเชื้อสูงร้อยละ 4 เป็นปัญหาที่เข้ามาได้หารือกับศบค.ได้กำชับสายการบิน ขณะนี้ยังลดลงไม่มากยังเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเต็มที่ จึงอยากบอกทุกคนว่าภูเก็ตเป็นเมืองปลอดภัยกับทุกคน มีศักยภาพมีทรัพยากรเพียงพอดูแลคนติดเชื้อ ทั้งคนภูเก็ตและนักท่องเที่ยวที่เข้ามา เราเร่งวัคซีนเข็ม3-4 รวมเด็กอายุ 5-11 ปี ได้จำนวนผู้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมีมาตรการยูนิเวอร์แซล พรีเวนชั่น มาตรการโควิดในสถานประกอบการ มาตรการทางสังคม มาตรการทางกฎหมาย การตักเตือนนักท่องเที่ยวที่ไม่สวมหน้ากากในที่สาธารณะ ตักเตือน จับ ปรับ และ คลินิกอุ่นใจ กับการดูแลเฉพาะผู้ป่วยโควิด มีคนเข้ารับบริการทุกวัน ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ให้เฉพาะกลุ่มเสี่ยง 607 เท่านั้นส่วนกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวให้รักษาตามอาการที่บ้าน และกลุ่มสัมผัสเสึ่ยงสูง กักตัวที่บ้านหรือ LQ มีแพทย์พยาบาลดูแลวินิจฉัยเป็นรายไป

"ภูเก็ตอยากเสนอตัวเป็นจังหวัดนำร่องประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ต้องมีเกณฑ์วัด ต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อไม่เกินร้อยละ 1 ผู้เสียชีวิตไม่เกินร้อยละ 0.1 หรืออาจจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กระทรวงกำหนด ภูเก็ตยินดีจะเป็นจังหวัดนำร่องและขอลดเวลากักตัวผู้ติดเชื้อจาก 10 วันแบ่งเป็น 5:5 ใน 5 วันแรกกักตัวที่บ้านหรือฮอสพิเทลหรือรพ.การรักษาตามอาการและอีก 5 วันหลังสามารถกลับไปทำงานได้แต่ยังคงมาตรการป้องกันตัวเองกับโควิดเพื่อแก้ไขการลางานที่นานเกินไป" นายพิเชษฐ์ กล่าว

นอกจากนั้น อยากเป็นจังหวัดนำร่องยกเลิกการรายงานประจำวันตัวเลขผู้ติดเชื้อ ยังคงรายงานเฉพาะการติดเชื้อกรณีผู้ป่วยสีเหลือง สีแดง สีดำ เท่านั้นเพื่อไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อที่รายงาน RT-PCR คิดว่าความกังวลจะลดลงหันมาฟื้นฟูเศรษฐกิจกัน แต่ตอนนี้ยังคงต้องทำตามสถานการณ์ เชื่อว่า ภูเก็ตมีความพร้อมเป็นจังหวัดนำร่อง ทางจังหวัดขอบคุณทุกภาคส่วนในการดูแลช่วยประสานงานอำนวยความสะดวกแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ช่วยกันดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยว" นายพิเชษฐ์ กล่าว

ขณะที่ ข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดภูเก็ต ประจำวันที่ 20 ก.พ. ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในภูเก็ตมีจำนวน 628 ราย ผู้ติดเชื้อ Sandbox 50 ราย ผู้ติดเชื้อ T&G 42 ราย รวม 720 ราย เสียชีวิต 3 ราย

อ่านโพสต์ทูเดย์ คลิก

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่