จับภาพแล้วอวดโฉม ‘ภูเก็ต’ ภาพถ่ายภูเก็ตผ่านสายตาของ นิรวิทธิ์ วรวณิชชา

ภูเก็ต - ในโลกยุคใหม่ที่หลายคนต่างลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ผลงานแบบกล้าได้กล้าเสีย เพื่อผลิตงานออกมากันเป็นจำนวนมาก เพราะไม่เพียงแค่การผลิตวัตถุในโรงงานเท่านั้น แต่ภาพถ่ายและแนวคิดก็ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเดียวกัน เพียงกูเกิลคำว่า “ภูเก็ต” คุณก็จะสนุกกับการเลือก “ภาพอันสวยงามและโดดเด่น”

Anton Makhrov

วันเสาร์ ที่ 22 เมษายน 2566, เวลา 15:00 น.

ให้ความรู้สึกเหมือนสวรรค์ในเขตร้อนที่สมบูรณ์แบบไปด้วยหาดทรายสีขาว น้ำทะเลสีฟ้า เรือหางยาวเบื้องหน้า และโขดหินหินปูนเป็นฉากหลัง ซึ่งนี่คือภาพของภูเก็ตที่ออกไปสู่ตลาดทั่วโลก และไม่มีใครสนใจว่าฉากในภาพนั้นอาจจะไม่ใช่ภูเก็ตด้วยซ้ำ แต่กลับเป็นภาพที่ถูกถ่ายในจังหวัดอื่นเสียอีก

นิรวิทธิ์ วรวณิชชา ช่างภาพชาวภูเก็ต หรือที่เราเรียกกันติดปากในฝ่ายบรรณาธิการข่าวว่าคุณมอส และแน่นอนว่าสายตาของเขาไม่ได้จับจ้องไปที่มุมเดิม ๆ เพราะเขาเองได้มองเห็น จับภาพ และอวดโฉม “ภูเก็ต” ผ่านมุมมองของเขาเอง โดยที่ไม่ยอมทำตามแนวทางของภูเก็ตที่หลาย ๆ คนเห็นกัน ศิลปินแห่งศตวรรษที่ 21 คนนี้มีความแตกต่างทั้งในด้านของช่วงเวลาและสไตล์ หากกล่าวถึงช่างภาพชาวไทยชื่อดังคนภูเก็ตอย่าง แสงจันทร์ ลิ่มโลหะกุล เพราะงานศิลปะของมอสไม่ใช่ภาพขาวดำเสมือนจริงเฉกเช่นภาพถ่ายฝีมือชั้นครูแสงจันทร์ แต่เป็นจินตนาการที่มีสีสันของเกาะ อย่างไรก็ตามพวกเขาก็มีสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือมอสถ่ายภาพผลงานของเขาบนถนนเส้นเดียวกับที่ท่านแสงจันทร์ได้เคยเก็บบันทึกภาพถ่ายระดับปรมาจารย์ของเขาเอาไว้

บางคนอาจจะสงสัยว่าจะดีไหมที่ภาพของภูเก็ตถูกเผยแพร่ออกไปในลักษณะนั้น เห็นได้ชัดว่าดีแน่นอน จากรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ที่เขาได้รับจากจากการประกวดภาพถ่ายงาน “Phuket Festival เทศกาลเดือนสามบ้านเรา” ที่จัดขึ้นครั้งล่าสุด

กล้องตัวแรกของมอสคือ Nikon D3100 ที่เขาได้เป็นของขวัญในวันเกิดอายุครบ 18 ปี ตอนนี้เขาอายุ 28 ปี มอสใช้เวลา 10 ปีในการจับภาพบรรยากาศของภูเก็ตและถ่ายทอดไปยังผู้ชมของเขา ซึ่งจนถึงตอนนี้ได้รวมถึงกรรมการผู้ตัดสินการประกวดภาพถ่ายที่มีสายตาอันเฉียบแหลม ผ่านการมองตัวเอกของภาพถ่ายนั่นก็คือ “ภูเก็ต”

มอสที่เป็นเด็กภูเก็ตเมื่อถูกถามถึงสถานที่สุดโปรดบนเกาะเขาตอบแบบไม่ลังเลว่า “เมืองเก่า จุดชมวิวกังหันลม…” และผมเอง (ผู้เขียน) ก็อดไม่ได้ที่จะเดาว่าสถานที่ต่อไปน่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางวาด และแล้วคำตอบของมอสก็คือ “และเขื่อนบางวาดในกะทู้ครับ”
ผมมองว่าเขื่อนบางวาดงดงามและมีเสน่ห์แต่ขาดการเคลื่อนไหวไปหน่อย แต่คุณมอสที่จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ รู้วิธีเติมเต็มพื้นที่ว่างและเปลี่ยนภูมิทัศน์ของภูเก็ตให้เป็นฉากจากเรื่อง Frozen หรือทำให้สว่างงดงามขึ้นได้ด้วยวิธีอื่น ๆ

จุดถ่ายรูปสุดโปรดของคุณมอสคือบริเวณถนนถลางและถนนพังงาในยามค่ำคืน เพราะเมื่อตึกโบราณสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสได้รับการแต่งแต้มสีสันอย่างหรูหราด้วยแสงไฟหลากสี และชุดภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลของเขาถูกถ่ายในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองภูเก็ตแห่งนี้เต็มไปด้วยแสงสวยและสีสัน

“แสงมีพลังอันน่าทึ่งในการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของภาพถ่ายที่คุณถ่ายทอดออกไป” คุณมอส กล่าว

ผมชอบงานของมอสมากโดยเฉพาะภาพที่ถ่ายในย่านเมืองเก่าชิโนโปรตุกีส ที่ถูกปรับการแต่งตัวให้สวมเสื้อผ้าในแบบไซเบอร์พังก์ที่เชื่อมระหว่างปี 1907 และ 2077 เข้าด้วยกัน และนั่นคือสิ่งที่ผมมองเห็น ถึงแม้ว่าศิลปินคนนี้จะไม่ได้พยายามหรือตั้งใจที่จะกระตุ้นกระแสความเชื่อมโยงกันในจุดนี้

ซึ่งนี่คือแก่นสาระสำคัญของศิลปะ คือวิธีการทำงานของงานศิลป์ ด้วยการจับภาพและถ่ายทอดภาพ ศิลปินจะเริ่มปฏิกิริยาลูกโซ่ด้วยการตีความขั้นสุดท้ายที่คาดเดาไม่ได้ และการตอบสนองทางอารมณ์จากผู้มีส่วนร่วมสังเกตการณ์ ศิลปะเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ไม่ใช่การตลาด (แม้ว่าจะพยายามเลียนแบบแล้วก็ตาม)

คอนเซปต์ สถานที่ และการจัดวางองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่สำคัญของภาพถ่าย มอสอธิบาย ทุกภาพเริ่มจากไอเดีย จากนั้นจะเป็นการเลือกสถานที่ แสง องค์ประกอบภายใน จุดโฟกัส และอื่น ๆ

“อย่างแรกเลยคุณต้องรู้ว่าต้องการถ่ายทอดอะไร ต้องเข้าใจว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นขอให้เริ่มจากคอนเซปต์แนวคิดที่ชัดเจน” เขากล่าว

เห็นได้ชัดว่าบางคนจะทำในทางกลับกัน โดยเริ่มจากพลังของบางช่วงเวลา ที่ทำให้พวกเขากำหนดแนวคิดหลังจากหัวรถจักรความสร้างสรรค์ได้แล่นออกไปข้างหน้าแล้ว ซึ่งลำดับขั้นตอนเหล่านี้ก็จะถูกโต้แย้งอยู่เสมอ ส่วนตัวผมเข้าใจว่าช่างภาพภูเก็ต 9 ใน 10 คนไม่มีข้อความภาพเป็นของตัวเองเลย

อาศัยเทมเพลตที่เป็นการผลิตแม่แบบเอาไว้ล่วงหน้า พวกเขาสร้างผลงานที่มีคุณภาพสำหรับผู้บริโภคที่มีคุณภาพ โดยปราศจากการแสวงหาวิสัยทัศน์ของตนเอง อย่างไรก็ตาม พวกเราก็มีความสุขที่แม้ว่าจะมีไม่กี่คนที่จะไม่เผชิญหน้าตรง ๆ แต่อย่างน้อยก็ไม่ให้การสนับสนุน

พอพูดคุยกันมาถึงตรงนี้คุณมอสกล่าวว่าเขาพร้อมสำหรับการถ่ายภาพให้กับลูกค้าที่ว่าจ้าง และเขารับรองว่าจะเก็บภาพความเป็นภูเก็ตในแบบของเขาเอาไว้ให้ได้อย่างแน่นอน

นิรวิทธิ์ ‘มอส’ วรวณิชชา กราฟิกดีไซเนอร์ของคลาส แอ็ค มีเดีย รับผิดชอบงานด้านการออกแบบกราฟฟิกให้กับ The Phuket News, IMAGE asia, ข่าวภูเก็ต, Novosti Phuketa และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ หากท่านต้องการเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพของเขามากขึ้น หรือติดต่อจ้างงาน สามารถเข้าไปชมที่ Facebook.com/MoshollJpg

ข่าวภูเก็ต: แปล

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่