ครั้งแรกกับโครงการ'American Inspired Chef Project' บนเกาะภูเก็ต ปั้นเชฟมือใหม่

ภูเก็ต - เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) ร่วมกับตัวแทนสินค้าจากสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้เปิดโครงการฝึกอบรมแก่นักศึกษาสถาบันต่างๆ และกลุ่มชาวบ้านในภูเก็ตให้เรียนรู้ถึงเทคนิคการประยุกต์ใช้วัตถุดิบประกอบอาหารอย่างสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์

วันพุธ ที่ 23 ตุลาคม 2562, เวลา 12:00 น.

ภายใต้ชื่อโครงการ American Inspired Chef Project โดยเชฟตามได้ให้คำแนะนำความรู้ด้านอาหาร การพัฒนาเมนู การเลือกใช้วัตถุดิบ และการเปลูกฝังค่านิยมการช่วยเหลือชุมชนและสังคม ขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรท้องถิ่นทางภูเก็ต และวัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการของโครงการ “American Inspired Chef Project” ยังจะช่วยเติมเต็มฝันของเชฟรุ่นใหม่ และให้พวกเขาเหล่านี้เป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือสังคมในอนาคตอีกด้วย

นายอีริค มูลิส ผู้ช่วยที่ปรึกษาทูตฝ่ายกิจการเกษตร สถานทูตอเมริกา ร่วมกับ คุณสุกันยา สิริกีรติกุล Agricultural Marketing Specialist (USDA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า โครงการนี้จัดขึ้นด้วยเล็งเห็นความสำคัญของนักเรียนเชฟที่จะก้าวขึ้นมาเป็นเชฟมืออาชีพในอนาคต

โดยมี เชฟตามชุดารี เทพาคำ ท็อปเชฟไทยแลนด์คนแรกมาให้ความรู้นักเรียนเชฟในด้านอาหาร การพัฒนาเมนู การเลือกใช้วัตถุดิบและการปลูกฝังค่านิยมแห่งการช่วยเหลือสังคม มี นักศึกษาจากสถานศึกษาต่างๆที่ฝึกงานกับ อนันตรา และกลุ่มแม่บ้าน ผู้แทนชุมชนจากกมลา เข้าร่วมในโครงการฯ และได้รับเกียรติจากอาจารย์ปทุมมาลัย พัฒโร อาจารย์ประจำคณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต มาให้ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับผักสมุนไพรทัองถิ่นทางภูเก็ตประยุกต์ใช้วัตถุดิบอย่างสร้างสรรค์ของเชฟตาม ณ คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

โครงการนี้จัดมาแล้ว 4 ภาค ที่ ภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ ภาคกลาง ที่ กรุงเทพฯ ภาคใต้ ที่ จ.ภูเก็ต และจะไปจัดที่ภาคตะวันออก โดยการจบโครงการคือ ให้นักเรียนเชฟทำการแข่งขันค้นหาผู้ชนะเลิศจะได้เดินทางไปดูงานที่สถาบัน CIA ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2563 ที่กรุงเทพมหานคร โดยให้แต่ละภาคทำสูตรเข้ามาก่อนและตัดสินจากสูตรก่อนจากนั้นจะแข่งขันให้เหลือผู้ขนะเลิศเพียง1ทีม จาก 8 ทีมที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน

โครงการนี้นอกจากจะช่วยเติมเต็มฝันของเชฟรุ่นใหม่ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือสังคมในอนาคต ซึ่งโครงการนี้ในการอบรมและฝึกด้านการสร้างสรรค์เมนูและเทคนิคการทำอาหารใหม่ๆที่ผสมผสานระหว่างพืชผักพื้นบ้านภูเก็ต และวัตถุดิบจากสหรัฐอเมริกา เป็นการผสมผสานวัตถุดิบจากสองวัฒนธรรมอาหารที่แตกต่างได้อย่างลงตัวและเป็นการส่งต่อคุณค่าผลิตภัณฑ์และความรู้สู่เชฟรุ่นใหม่ในบ้านเกิดเป็นสิ่งทีาน่าชื่นขมและสนับสนุน

สำหรับรายละเอียดโปรแกรมการฝึกอบรม เชฟตามได้พูดถึงแรงบันดาลใจสู่การประสบความสำเร็จสู่เชฟมือ 1 ของการแข่งขันท๊อปเชฟ ประสบการณ์การทำงาน สิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติของเชฟมือใหม่ และวิธีการคิดสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ 5 เมนู

จากนั้น อ. ปทุมมาลัยได้พูดถึงเครื่องปรุงประกอบอาหารหลักๆของภาคใต้และเชฟตามสอนเทคนิค และการทำอาหารเบื้องต้น และลักษณะพิเศษของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่จะใช้ประกอบอาหาร อาทิ ชีสจากแคลิฟอเนีย มันฝรั่งบดผง แอปเปิลวอชิงตัน ปลาอลาสก้าพอลลอค และเนื้อวัวจากสหรัฐฯ เชฟตามแสดงการทำอาหาร และจัดเตรียมอาหารสำหรับให้ทดลองชิม

ซึ่งเมนูดินเนอร์ประจำวันคือ เนื้อริบอายย่างจากอเมริกา ,หมี่สั่วผัดซอสชีสแคลิฟอร์เนียและสาหร่ายพวงองุ่น ภูเก็ต ผสมกับชีสซอสของอเมริกา และ ทอดมันไข่ปลาพอลล็อก อลาสกา กินแกล้มกับน้ำพริกเม็ดมะม่วงหิมพานต์

ส่วนเมนูดินเนอร์ในวันที่ 22 ต.ค. มี 5 เมนู หมี่สั่วผัดแคลิฟอร์เนียมอนต์ทาเร่แจ็คชีสซอสร่วมกับหอยเชลล์สหรัฐและสาหร่ายพวงองุ่น ,ของหวาน ทาร์ตแป้งมันฝรั่งจากอเมริกา ,ส้มควายแอปเปิ้ลวอชิงตันแกรนนี่สมิธ

ด้าน ชุดารี เทพาคำ หรือ เชฟตาม กล่าวว่า การสร้างสรรค์เมนูให้เด็กรุ่นใหม่มีความเข้าใจบริโภคได้ง่ายขึ้น มีความยากเหมือนกันในการคิดเมนูไม่ใช่ทุกอย่างที่จะทำได้ ต้องทำให้ผสมเข้ากันเป็นสิ่งดีที่ชาวต่างชาติหันมาสนใจวัตถุดิบพื้นบ้านมากขึ้นสามารถบริโภคได้ง่ายขึ้น การที่ดึงจุดเด่นต่างๆของผักพื้นบ้านสมุนไพร ต่าง ๆ ที่แต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่โดดเด่นนำมาปรุงขึ้นกับการผสมผสานรสชาติที่เหมาะสม

"การให้ความรู้กับคณะในวันนี้ที่ภูเก็ตรู้สึกดีใจที่คนมาร่วมงานเยอะเต็มห้อง รู้สึกดีที่มีการแบ่งปันความรู้และได้รับความรู้จากมอ.ภูเก็ตด้วย ซึ่งได้เอาผักพื้นบ้านของภูเก็ตมาทำเป็นสลัด มีซอสใช้ชีสของอเมริกามาผสมผสานกัน หมี่สั่วมาดัดแปลงน้ำซอสใช้เส้นแทนพาสต้า สปาเกตตี้ได้ดัดแปลงซอสขึ้นมาโดยใช้ชีสของอเมริกา และ ทอดมันปลาพอลล็อก ใช้ไข่ปลาปรุงรส เครื่องเทศของไทย ขมิ้น กระเทียม ผักชีลาว ผสมเข้าไปด้วยให้รสชาติเข้าถึงคนไทย และทานกับน้ำพริกเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีรสเผ็ดขึ้นมาด้วย" เชฟตาม กล่าว

นางวัลยา อิสลาม ประธานกลุ่มOTOPบ้านนาคา ต.กมลา กล่าวว่า ทางกลุ่มมีการทำประกอบการอาหารฮาลาลที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดพัฒนาอาหารฮาลาลได้ตามสูตรที่เชฟตามสอนไว้ เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหาร เพิ่มรายได้แก่ชุมชนและกลุ่มOTOP

น.ส.นิสาคร ถินคำชัย นศ.ปีที่ 1 แผนกอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต กล่าวว่า ดีใจที่เชฟตามได้เสียสละเวลามาให้ความรู้ได้เลือกวัตถุดิบของภูเก็ตผสมกับอเมริกา ได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้อย่างดี

นอกจากนี้ ในวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2562 กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำภายใต้คอนเซปต์ “American Inspired Chef – American Local Thai Southern Inspired Cuisine with Chef Tam” ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ ต.ลกมลา

ดินเนอร์ภายใต้คอนเซปต์ “American Inspired Chef – American Local Thai Southern Inspired Cuisine with Chef Tam” จะเป็นเมนูอาหารที่มีการผสมผสานของวัตถุดิบจากสหรัฐอเมริกาได้แก่ เนื้อวัว ปลาอลาสก้าพอลลอค แคลิฟอร์เนียชีส มันฝรั่งบดผง แอปเปิ้ลวอชิงตัน และพืชผักพื้นบ้านของภูเก็ตเช่น ผักลิ้นห่าน และส้มควาย โดยการสร้างสรรค์ของคุณ ชุดารี เทพาคำ หรือ “เชฟตาม” ผู้ชนะการแข่งขันท็อปเชฟคนแรกของไทยในปี 2017
งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “American Inspired Chef Project” ของกระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการมีวัตถุประสงค์ให้เมนูอาหารที่ปรุงขึ้นพิเศษโดยใช้วัตุดิบจากสหรัฐฯ และผักพื้นบ้านภูเก็ต ช่วยสร้างแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผักประจำท้องถิ่นภูเก็ตได้ถูกใช้ประกอบอาหารเมนูใหม่ๆ ที่แตกต่างและสร้างความประทับใจ

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่