นักวิชาการชี้แจง ล้างหมึกเกิดฟองเป็นเรื่องธรรมชาติ

ภูเก็ต - กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต (สสจ.) รายงานการลงพื้นที่ตลาดสดตรวจสอบสารปนเปื้อนในปลาหมึก หลังมีผู้โพสต์ตั้งข้อสงสัยถึงความปลอดภัยในชีวิตจากสารปนเปื้อนในอาหาร หลังซื้อหมึกจำนวนหนึ่งมาจากตลาดสดพื้นที่รัษฎา แล้วนำมาล้างทำความสะอาดพบว่ามีฟองมากผิดปกติ ได้ข้อสรุปว่า เมือกดังกล่าวนั้นเกิดจากเมือกของปลาหมึกทำปฏิกิริยากับน้ำ

ข่าวภูเก็ต

วันจันทร์ ที่ 29 มกราคม 2561, เวลา 10:14 น.

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรัษฎา ลงพื้นที่ตลาดนัด สามกองใหม่ ต. รัษฎา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายหลังจากได้รับรายงาน เมื่อวันที่ 24 .มค. ว่ามีผู้ใช้เฟซบุ๊ก “รักแท้ มีอยู่จริง” ได้โพสต์วิดีโอ อ้างว่าซื้อปลาหมึกมาจากตลาดนัดดังกล่าว และเมื่อนำมาล้างปรากฏว่าเกิดฟองขึ้น ทำให้ไม่กล้ารับประทาน เพราะกลัวว่าจะมีสารปนเปื้อน

ก่อนลงพื้นที่ เจ้าหน้าที่ สสจ. ได้สอบถามไปยังผู้โพสต์ที่ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้ซื้อปลาหมึกมาจากตลาดนัดสามกองใหม่ เมื่อนำมาล้างด้วยน้ำเปล่า ปรากฏว่ามีฟองเกิดขึ้นเล็กน้อยจากนั้นได้นำปลาหมึกไปหั่น พบว่าเนื้อปลาหมึกมีลักษณะเปื่อย ตนจึงนำไปแช่เกลือและล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง แต่ก็พบว่าได้เกิดฟองมากกว่าเดิม ตนจึงน้ำส้มสายชูมาเติมและล้างด้วยน้ำเปล่าอีกรอบ ผลคือมีฟองมากกว่าเดิม ยิ่งเมื่อขยำปลาหมึกในน้ำมากขึ้นฟองก็เกิดมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ขณะลงพื้นที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนที่ห้ามใช้ในอาหารทะเล 2 ชนิดคือ สารฟอร์มาลีน และสารโซดียมไฮโดรซัลไฟต์ (สารฟอกขาวหรือผงซักมุ้ง) ด้วยชุดทดสอบ เบื้องต้นไม่พบการปนเปื้อนของสารต้องห้ามทั้ง 2 ชนิด

ทั้งนี้ ผู้ขายเองได้ชี้แจงว่า การล้างปลาหมึกแล้วเกิดฟองนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากตนเองพบเห็นอยู่บ่อยครั้ง จากตัวของหมึกเอง นอกจากนี้ ผู้ขายยังได้มีการทดลองล้างปลาหมึกที่จำหน่ายให้เจ้าหน้าที่และประชาชนที่มาซื้อของในตลาดนัดได้ดู พบว่าเกิดความเป็นมานมากเหมือนกับที่ผู้โพสต์แสดง

อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ระบุอีกว่า ได้สังเกตเห็นฟองอากาศ ในถังแช่ปลาหมึกที่พึ่งนำมาส่งขาย แต่มิได้อธิบายถึงผลลัพธ์ของฟองอากาศดังกล่าว

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม โดยในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการเข้ามาแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลเชิงวิชาการหลายท่าน เช่น ดร.จรวย สุขแสงจันทร์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ชี้แจงว่าการเกิดฟองเมื่อล้างปลาหมึกเป็นเรื่องปกติเกิดจากเมืองที่ตัวปลาหมึกเมื่อเจอน้ำทำให้เกิดแรงตึงผิวเมื่อเรายิ่งดีหรือเขย่าฉันเกิดเป็นปฏิกิริยาของอากาศได้ปริมาณฟองมากน้อยขึ้นอยู่กับเมือกที่ปลาหมึก (ที่มาจากรายการ เจาะประเด็นสเปเชียล)

และ อาจารย์เจษฎา ดวงเด่นบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ให้ความคิดว่า ฟองดังกล่าวไม่ใช่ฟอร์มาลิน แต่เกิดจากปลาหมึกมีความสดมาก และยังมีเมือกติดอยู่เมื่อโดนน้ำจืด จะทำปฏิกิริยาเกิดฟองขึ้น (ที่มาจากช่อง 8)

โดยได้ให้ข้อสรุปว่า เรื่อง ปลาหมึกปนเปื้อนฟอร์มาลีนนั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากได้ดำเนินการตรวจสอบโดยชุดทดสอบแล้ว ในเบื้องต้นพบว่าไม่พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีนและสารฟอกขาว สันนิษฐานว่า ฟองดังกล่าวเกิดจากเมือกของปลาหมึกทำปฏิกิริยากับน้ำ

ข้อมูล: ปชส.ภูเก็ต

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่