โดยมี พล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประธานในพิธีกล่าวเปิดการประชุม และ นายวงศ์เทพ อรรถไกวัลวที รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และ พิธีคากล่าวต้อนรับโดย นายสนิท ศรีวิหค รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และ กล่าวถึงความเป็นมาของการประชุมโดย ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยตัวแทนระดับผู้บริหารและตัวแทนจากองค์กรหน่วยงานทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจากกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 300 ท่าน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
พล.อ. สุรศักดิ์ เปิดเผยว่า ขยะทะเลกลายเป็นประเด็นสาคัญระดับโลก ที่องค์การสหประชาชาติกาลังให้ความสาคัญ เพราะได้กำหนดให้การจัดการทรัพยากรทางทะเลเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายของวาระ การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากทะเลทั่วโลกเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่มนุษย์ใช้โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ส่งผลถึงปัญหาในปัจจุบันที่กาลังเผชิญกับขยะที่ล่องลอยจากแผ่นดินออกสู่ทะเล และจากฝั่งออกสู่ท้องทะเล รวมทั้งกิจกรรมในทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติกได้สร้างปัญหามากมาย ขยะพลาสติกขนาดใหญ่ เช่น แห อวน หรือซากสิ่งของ เป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บาดเจ็บหรือเสียชีวิต สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ โดยทำให้แนวปะการังและพื้นท้องทะเลเสื่อมโทรม ทาลายทัศนียภาพของชายหาด ส่งผลต่อการประมงและการท่องเที่ยวของหลายประเทศ
“นอกจากนี้ ขยะทะเลที่ย่อยสลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนมองแทบไม่เห็นหรือที่เรียกว่า “ไมโครพลาสติก” ได้ผ่านเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อาหารสัตว์ในทะเลและผ่านจากอาหารทะเลสู่มนุษย์ ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว การแก้ปัญหาขยะทะเลจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้คิดริเริ่มที่จะแก้ปัญหา ขยะทะเลเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ประเทศในอาเซียนต่าง ๆ กำลังประสบปัญหาและเผชิญกับความท้าทายร่วมกันจึงได้หารือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนในการริเริ่มสร้างความร่วมมือร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดการประชุมระดับอาเซียนในครั้งนี้ โดยกระทรวงทรัพยากรฯ มอบหมายให้ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ”
การจัดการประชุมอาเซียน เรื่องการลดปริมาณขยะทะเลในกลุ่มประเทศอาเซียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศอาเซียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมกันกำหนดแนวทางในการจัดการปัญหาขยะทะเลเพื่อเป็นกรอบในการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน เพราะขณะนี้ หลาย ๆ ประเทศได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาขยะทะเล สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลพบว่า ร้อยละ 80 ของขยะทะเลมาจากบนบก ส่วนขยะจากกิจกรรมทางทะเล มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
“อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาขยะ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนาของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญโดยกำหนดให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ โดยเน้นจัดการ ขยะตกค้าง 30 ล้านตันให้หมดไป และจัดการขยะใหม่ ปีละ 27 ล้านตัน ต้องลดที่ต้นทาง นำมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ในปี 261 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 3Rs Forum ในกลุ่มประเทศเอเชีย – แปซิฟิก รวมทั้งการออกกฎหมายและการสร้างวินัยคนในชาติ ขณะที่ กระทรวงทรัพยากรฯ ยังร่วมมือกับทุกภาคและภาคเอกชน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันพลาสติก ผลักดันการขับเคลื่อนแผนการจัดการพลาสติก ขยะพลาสติก โดยเน้นหลักการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก รีไซเคิ้ลพลาสติก นอกจากนี้ ยังร่วมกับภาคเอกชนที่ผลิตน้าดื่ม การลดและเลิกใช้ cap seal หรือพลาสติกที่หุ้มฝาขวด โดยข้อมูลในปี 2559 พบว่ามีน้าดื่มที่ใช้ cap seal ถึง 2,600 ล้านขวด/ชิ้น” พล.อ. สุรศักดิ์ กล่าว
“สำหรับเรื่องขยะทะเล กระทรวงทรัพยากรฯ กาหนดให้เขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลทุกแห่งปลอดจากถุงพลาสติก และเมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มโครงการนาร่องกับหน่วยงานใน 15 จังหวัดชายฝั่งทะเล กำหนดพื้นที่ชายหาด 24 แห่ง ให้เป็นชายหาดปลอดจากการสูบบุหรี่และทิ้งก้นบุหรี่และอื่น ๆ (อ่านเพิ่มเติม คลิก)”
ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เชื่อว่าจะได้ผลตามที่กำหนดไว้และจะยกระดับการและช่องทาง การติดต่อของแต่ละประเทศที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเล ซึ่งในส่วนของประเทศไทย นอกจากชายหาด 24 แห่งปลอดขยะ ยังมีโครงการลดขยะบนเกาะไข่ จ.พังงา โครงการประชารัฐขจัดขยะทะเล และที่ได้เริ่มใหม่คือการสำรวจตลาด ร้านค้า และบ้านเรือนประชาชนรอบชายฝั่งใน 23 จังหวัดชายทะเล คาดว่าไม่เกิน 3 เดือน จะสามารถสรุปได้ว่า ในแต่ละพื้นที่มีจานวนตลาดร้านค้าและบ้านเรือนประชาชนกี่แห่ง เพื่อขอความร่วมมือลดการใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนภาชนะใส่อาหารเพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยที่สุด