เปิดตัวผลงาน ’ตามรอยโอ้เอ๋ว เอกลักษณ์แห่งความอร่อยของภูเก็ต’ One of The Most Mysterious Foods

ภูเก็ต - วันที่ 24 ธันวาคม 2566 ณ บริเวณสวนหย่อม สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ จังหวัดภูเก็ต นายอำนวย พิณสุวรรณ รอง ผวจ.ภูเก็ต เป็นประธานการแถลงข่าวตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาหารพื้นถิ่นแบบบูรณาการสู่การท่องเที่ยว กิจกรรมย่อย Grand Opening ’ตามรอย...โอ้เอ๋ว เอกลัษณ์แห่งความอร่อย’ One of The Most Mysterious Foods โดยมีนายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต, ผศ.ดร.ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน บริการวิชาการ และวิจัย ม.ราชภัฎฯ, ดร.พจมาน ท่าจีน รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ, นางอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน, ผศ.รังสรรค์ พลสมัคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ นักวิจัย และอ.ดร.อนิตทยา กังแฮ นักวิจัย ร่วมแถลงข่าว

ข่าวภูเก็ตประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ

วันจันทร์ ที่ 25 ธันวาคม 2566, เวลา 12:00 น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ต เปิดตัวผลงาน "ตามรอย...โอ้เอ๋ว เอกลักษณ์แห่งความอร่อยของภูเก็ต" One of The Most Mysterious Foods โดยผลงานนี้เป็นผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ม.ราชภัฏภูเก็ต กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยค้นพบสิ่งที่วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ ดังนี้ โอ้เอ๋ว หรือ โอ๊ะเอ๋ว (O–Aew) เป็นขนมหวานพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงที่มีสูตรลับและกรรมวิธีการผลิตถ่ายทอดผ่านคนในครอบครัวนานกว่าร้อยปี ด้วยตัววุ้นของโอ้เอ๋วมีความพิเศษที่แตกต่างจากวุ้นทั่วไป คือ มีลักษณะเป็นวุ้นใส เนื้อนิ่ม ไม่มีรส แตกต่างจากวุ้นทั่วไปที่มีความแข็งมากกว่าเพราะวุ้นทั่วไปทำจากผงวุ้นที่ผลิตมาจากสาหร่าย

ประเด็นสำคัญของการตามรอยโอ้เอ๋ว คือ ปัจจุบันความเป็นเอกลักษณ์ขนมพื้นถิ่นสูญหายเนื่องจากขาดช่วงสืบทอดและไม่มีการเปิดเผยองค์ความรู้ ทั้งด้านวัตถุดิบที่ใช้และกรรมวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยอ้างอิงตำรับมาตรฐานขนมพื้นถิ่นจากบริบทชุมชนโดยอาศัยพื้นฐานวัฒนธรรมและวางแนวทางสูตร

กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์โอ้เอ๋วที่คงความเป็นอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตและเพื่อสนับสนุนและยกระดับจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) คลินิกเทคโนโลยี ม.ราชภัฏภูเก็ต จึงร่วมกับกองเทคโนโลยีชุมชม กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาศึกษาวิจัยและพัฒนากรรมวิธีการผลิตโอ้เอ๋วเป็นรูปธรรม โดยใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาของชุมชนเป็นแกนหลัก

โดยนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สูตร และกรรมวิธีการผลิตโอ้เอ๋วของคนภูเก็ตที่คงความเป็นอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพของอาหารพื้นเมือง อาหารโบราณให้มีคุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค, องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์โอ้โอ๋วและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตเป็น City of Gastronomy โดยมีเป้าหมายกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยการจัดการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านอาหาร ท้องถิ่น รักษาอัตลักษณ์และรสชาติดั้งเดิมของอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต และการประสานงานกับฟาร์มในต่างประเทศ นำต้นโอ้เอ๋ว มาปลูกในจังหวัดภูเก็ต เพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการวิจัย

โดย ม.ราชภัฏภูเก็ต และกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ร่วมทำข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยพัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นแกนหลักในการต่อยอดการวิจัยและพัฒนาด้านตำรับและกรรมวิธีการผลิตอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต โดยขนมพื้นเมืองที่ได้เลือกไว้ถัดจาก โอ้เอ๋ว คือ อาโป้ง

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่