นักกรีฑาภูเก็ตเจ้าของเหรียญรางวัลระดับโลก สู่การชิงชัยมาสเตอร์เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ

กรีฑา - หลังจากประสบความสำเร็จในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก หรือ World Masters Athletics Championships ปี 2018 ที่เมืองมาลากา ทางตอนใต้ของประเทศสเปน ในระหว่างวันที่ 4-16 กันยายน ที่ผ่านมา Michele Hossack ชาวต่างชาติที่ได้พำนักอยู่บนเกาะภูเก็ตแห่งนี้มาอย่างยาวนาน เธอเองตั้งใจฝึกซ้อมและมุ่งมั่นบนเส้นทางกรีฑาสู่การแข่งขันเพื่อชิงแชมป์โลก รายการMaster’s World Championships ในโตรอนโต ที่จะจัดขึ้นในปี 2020

Matt Pond

วันอาทิตย์ ที่ 6 มกราคม 2562, เวลา 15:00 น.

วันที่ 8 กันยายน นักกีฬามากกว่า 200 คนจาก 101 ประเทศ มารวมตัวกันอยู่ที่เมืองมาลากา เพื่อทำการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกประจำปี 2018 ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ด้วยจำนวนนักกีฬาที่มีมากมายและกิจกรรมการแข่งขันที่หลากหลายเช่นกัน โดยนักกีฬาชายที่มีอายุมากที่สุดที่ได้เข้าทำการแข่งขันคือ ชาวอิตาเลี่ยน อายุ 102 ปี และหญิงที่มีอายุสูงที่สุดในการแข่งขันคือชาวอินเดียอายุ 102 ปี

มิเชลลงแข่งขันในฐานะตัวแทนจากประเทศเออสเตรเลีย ในการแข่งขัน 3 ประเภทคือ วิ่งข้ามรั้ว 300 เมตร, 400 เมตร และ 200 เมตร รวมถึงวิ่งผลัด 4x100 และ 4x400เธอจบที่อันดับ 4 ระยะ 400 เมตร และที่ 6 ในระยะ 200 เมตร ในขณะเดียวกันที่ทีมวิ่งผลัดทั้ง 2 ระยะก็ยืนใกล้เหรียญอยู่แค่เอื้อมมือ แต่ไม่สามารถคว้ามาได้ ซึ่งการได้เข้าในรอบชิงชนะเลิศระยะหลักของเธอ ซึ่งก็คือวิ่งข้ามรั้ว 300 เมตร มันหมายความถึงความสำเร็จที่เหนือความคาดหมายของเธอ เมื่อเธอขึ้นนำจากจุดสตาร์ทและสามารถคว้าเอาเหรียญทองและสถานะแชมป์โลกมาได้จนสำเร็จที่เวลา 49.49 วินาที ถือเป็นสถิติใหม่ในกลุ่มนักวิ่งจากออสเตรเลีย

จากการให้สัมภาษณ์กับทาง The Phuket News เมื่อไม่นานมานี้ มิเชล เปิดเผยว่า เธอทำการแข่งขันระดับนานาชาติในฐานะตัวแทนจากไอร์แลนด์เหนือมาตลอดช่วงปลายยุค 70 และเป็นสมาชิกของ British Junior ในการวิ่งข้ามรั้วระยะ 400 เมตร ช่วงต้นยุค 80

“แต่เมื่อตอนที่ฉันเรียนจบมหาวิทยาลัยในปี 1982 ฉันได้พบกับนักโต้คลื่นชาวออสเตรเลีย จากนั้นก็ใช้เวลาตลอด 20 ปีในการล่องเรือรอบโลก (บนเรือใบขนาด 32 ฟุต) และเรามีลูก 2 คนในระหว่างนั้น” เธอกล่าว “ช่วงอายุสี่สิบปลาย ๆ ขณะที่กำลังฝึกซ้อมไตรกีฬาที่ในภูเก็ตกับลูกสาววัยรุ่นของฉันเองนั้น ฉันได้รับการทาบทามและขอให้เป็นตัวแทนของภูเก็ต

ในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมาฉันได้เข้าแข่งขันในไทยมาสเตอร์, สิงคโปร์มาสเตอร์, อินโดนีเซียมาสเตอร์, ญี่ปุ่นมาสเตอร์ และออสเตรเลียนมาสเตอร์ ตามลำดับ” มิเชล กล่าว “นอกจากนี้ ฉันยังได้เป็นตัวแทนของออสเตรเลียในการแข่งขันโอเชียเนียมาสเตอร์, เอเชียนมาสเตอร์ และ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 3 รายการ”

จากนั้นมิเชลเล่าต่อว่า ในปี 2017 เธอได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากอาการเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับเอ็นร้อยหวายที่ขาด้านขวา

“การบาดเจ็บในครั้งนั้น ทำให้ฉันพลาดการแข่งขันของปีที่แล้วตลอดทั้งปี และนั่นมันก็ทำให้ความสำเร็จของฉันในปีนี้ที่มาลากานั้นหอมหวานยิ่งขึ้น!”
“ฉันลงแข่งขันใน 3 ประเภท (รวมวิ่งผลัด) และก็ทำได้ดีในทั้งสามประเภท แต่สามารถทำได้ดีที่สุดในประเภทข้ามรั้ว 300 เมตร ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันถนัดที่สุด และสามารถสร้างสถิติใหม่ในกลุ่มนักกีฬาจากออสเตรเลีย”

ณ ตอนนี้ มิเชลเองได้กลับมาสู่กระบวนการฝึกซ้อมและออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน ด้วยการทำ weights sessions ประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อเน้นการสร้างกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกและเอ็นร้อยหวาย

“ฉันพยายามวิ่งระยะทาง 5 กิโลเมตรรอบ ๆ เขื่อนบางวาด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งวิ่งไปกับ Phuket Hash House Harriers ทุกวันเสาร์ ฉันยังคงฝึกฝนการวิ่ง one track session อยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อฝึกความเร็วหรือความแข็งแกร่ง นอกจากนั้นฉังเองก็ชอบที่จะปั่นจักรยานหรือเล่นแพดเดิลบอร์ดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง” เธอกล่าว
อย่างไรก็ตาม มิเชลยอมรับว่า ปัญหาหลักของเธอในการฝึกร่างกายที่ภูเก็ตก็คือเธอไม่มีเพื่อนที่จะมาร่วมฝึกด้วย และไม่มีโค้ชที่จะมาช่วยในการฝึกฝนของเธอ

“ตลอด 10 ปีที่ฉันได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับมาสเตอร์ ฉันบอกกับตัวเองว่าฉันต้องทำให้ได้ด้วยตัวเองหรือไม่อย่างนั้นก็ต้องย้ายไปอยู่ต่างประเทศ”

“การไร้ซึ่งคู่แข่งอาจจะเป็นความท้าทายหลักของฉันก็เป็นได้ เพราะในการที่ฉันเข้าร่วมทำการแข่งขันชิงแชมป์โลก ที่จัดขึ้นเพียง 2 ครั้งในปีนั้น ทุกการแข่งขันที่ฉันเข้าร่วม ซึ่งต้องรวมถึงการเดินทางด้วย ที่มาพร้อมกับค่าตั๋วเครื่องบินและโรงแรมอยู่ด้วย ทำให้ทุกความพยายามของฉันนั้นกลายเป็นอะไรที่มีราคาแพงมาก” เธอกล่าว

มิเชลบอกอีกว่า ความท้าทายอันยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งของที่นี่ก็คือสภาพอากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

“ฉันโชคดีมากที่สามารถเข้าใช้ลู่วิ่งที่สนามกีฬาสุระกุล ฉันพกเครื่องกีดขวางและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้หลังรถ แต่ฉันไม่สามารถเข้าไปใช้เบาะเพื่อการกระโดดสูง หลุมทรายเพื่อการกระโดดไกลที่ใช้งานได้จริง หรืออุปกรณ์กรีฑาประเภทลานเช่นขว้างจักรหรืออื่น ๆ ทำให้ฉันไม่สามารถฝึกซ้อมสัตตกรีฑาได้มากเท่าที่มันควรจะเป็น

แน่นอนว่าฤดูฝนคืออีกหนึ่งปัญหาในการฝึกซ้อมของเธอ!

“ฤดูการฝึกซ้อมหลัก ๆ ของนักกรีฑา คือช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน ซึ่งนั่นก็คือฤดูฝนของเรานั่นเอง” เธอกล่าว “ในปี 2016 เป็นปีที่ฝนตกหนักติดต่อกันเกือบตลอดช่วง ซึ่งตอนนั้นฉันได้เข้าร่วมการแข่ง
ขันกรีฑาชิงแชมป์โลกที่เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ทั้งที่รู้ว่าการเตรียมตัวฝึกซ้อมของฉันเองยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะลู่วิ่งเต็มไปด้วยน้ำเจิ่งนองแทบทุกวัน”

“นอกเหนือจากนี้ ในการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียนที่สิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคม สภาพร่างกายของฉันก็ไม่ได้อยู่ในสถานะที่พร้อมเต็มที่ เพราะฉันเกิดมีอาการป่วยพอดีเลย”

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่