“กรง” พื้นที่ปลอดภัยของน้องหมาแสนรัก และความเป็นส่วนตัว

ผมคงไม่ต้องย้ำนะว่าการฝึกน้องหมาให้เข้ากรงนั้นมันมีความสำคัญมากแค่ไหน การฝึกนี้มีประโยชน์อย่างมาก มันช่วยฝึกให้น้องหมาขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง และยังช่วยแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้อีกด้วย ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่า ในขณะที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ชอบที่จะอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง เพดานสูง ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า น้องหมากลับชอบพื้นที่เล็ก ๆ แบบปิด เพราะฉะนั้นพวกมันถึงชอบที่จะนอนขดอยู่ใต้บันได หรือมานอนอิงแอบใต้ฝ่าเท้าของพวกคุณ หรือใกล้ ๆ กลับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

Russell D Russell

วันเสาร์ ที่ 5 ธันวาคม 2563, เวลา 12:00 น.

สุนัขชอบพื้นที่ปิด การที่เราให้พวกเขาไปอยู่ในกรงถือเป็นการให้เขามีเวลาพักผ่อนลำพัง ไม่ใช่การลงโทษ ภาพ: Mysaell Armendariz - Unsplash

สุนัขชอบพื้นที่ปิด การที่เราให้พวกเขาไปอยู่ในกรงถือเป็นการให้เขามีเวลาพักผ่อนลำพัง ไม่ใช่การลงโทษ ภาพ: Mysaell Armendariz - Unsplash

แม้ว่าการฝึกให้สุนัขให้อยู่ในกรงจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณต้องไม่ใช้มันแบบพร่ำเพรื่อต่อเนื่องจนเกินไป การปล่อยให้สุนัขนอนในกรงตอนกลางคืน แล้วยังให้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในกรงช่วงกลางวันอีก ดูจะเป็นการกระทำที่ไม่โอเคเท่าไหร่นัก แล้วถ้าคุณกำลังทำแบบนี้อยู่ล่ะก็ ตึณอาจจะต้องลองพิจารณาตัวเองแบบจริงจังซะแล้วว่า คุณเหมาะที่เลี้ยงหมาหรือเปล่า
จริง ๆ แล้วพวกลูกหมาก็เหมือนกับลูกคนนี่

แหล่ะที่จะนอนทั้งวัน! การเอาลูกนอนน้อยในแปลหรือในรถเข็นตอนที่พวกเขาหลับนับเป็นเรื่องที่ปกติ ซึ่งก็เหมือนกับการเอาลูกหมาเข้านอนในกรงของพวกมันเช่นกัน กรงของสุนัขควรจะอยู่ในบริเวณส่วนเงียบ ๆ ของบ้าน ที่ห่างจากความวุ่นวายต่าง ๆ เพื่อให้โอกาสสุนัขได้รู้จักการอยู่อย่างเงียบ ๆ ตามลำพังบ้าง ดังนั้นแล้วคุณน่าจะ/ควรที่จะเอาน้องหมาใส่กรงในช่วงเวลาสั้น ๆ บ้าง ถึงแม้ว่าคุณไม่ได้ออกไปไหนก็เถอะ การทำแบบนี้ก็เพื่อที่น้องหมาจะไม่เชื่อมโยงระหว่างการที่มันต้องอยู่ในกรง กับการที่คุณกำลังจะออกไปข้างนอกเข้าด้วยกัน เพราะจริง ๆ แล้ว เราอยากแค่ให้พวกมันมีเวลาพักผ่อนตามลำพังบ้างก็เท่านั้นเอง

การฝึกให้สุนัขอยู่ในกรงหรือในคอกที่บ้านนั้น นอกจากจะเป็นการฝึกให้สุนัขขับถ่ายเป็นที่เป็นทางแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสุนัขของคุณด้วย เพราะคุณไม่สามารถที่จะดูแลพวกมันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนี่ก็เหมือนกับการดูแลลูก ๆ ตัวน้อยของคุณนั่นแหล่ะ นอกจากนี้การที่พวกเราฝึกให้สุนัขเข้ากรง ยังเป็นการสร้างความมั่นใจที่ว่า พวกมันจะไม่ไปเคี้ยวสายไฟ โซฟา หรืออะไรต่าง ๆ ทั้งหลายที่มันไม่ควรเคี้ยว!

อีกเรื่องสำคัญคุณยังต้องแน่ใจด้วยว่า คุณเลือกขนาดกรงที่เหมาะสมกับสุนัขของคุณ กรงจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่สุนัขจะเคลื่อนไหวได้สะดวก มีพื้นที่เพียงพอให้เขาได้หมุนตัวหรือยืนได้ แต่อย่าลืมว่ามันต้องไม่ใหญ่พอที่พวกมันจะปัสสาวะไว้มุมหนึ่งและมานอนอีกมุมหนึ่งของกรงได้ ปัจจุบันนี้ กรงสุนัขมักจะมีส่วนท้ายกรงที่สามารถขยายออกได้ เผื่อไว้สำหรับเวลาที่พวกมันตัวโตขึ้น ซึ่งกรงแบบนี้ทำให้เราสามารถประหยัดเงินในการซื้อกรงใหม่ได้เยอะเลยทีเดียว

นอกจากนั้น ยังมีของเล่นสุนัขมากมายอย่างพวกของเล่นเสียงก๊องแก๊งที่สามารถเอามาเคี้ยวเล่นได้ตอนที่อยู่ในกรง แต่ต้องไม่ลืมนะว่า อย่าทิ้งของเล่นไว้ให้พวกมันมากจนเกินไป โดยเฉพาะของเล่นหรือเบาะนอนที่พวกมันสามารถกัดและฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ให้จำไว้ว่า น้อยแต่มาก

คุณจะต้องจำไว้เสมอว่า การให้สุนัขอยู่ในกรงมากจนเกินไปสามารถก่อเกิดปัญหาได้ การให้พวกมันอยู่ในกรงสักราว ๆ 1 ชั่วโมง หรือเป็นพัก ๆ ถือว่าสามารถทำได้ หรือถ้าให้พวกมันอยู่ในนั้นเป็นเวลานาน ๆ ลองใช้เป็นคอกกั้นน่าจะดีกว่า การให้สุนัขอยู่ในกรงนานเกินไป อาจก่อปัญหาบางอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือมีส่วนทำให้เกิดความวิตกกังวล ในการแยกตัวออกจากสังคม พวกเราต้องไม่ลืมนึกถึงด้วยว่า เหตุใดเจ้าสุนัขของเราจึงต้องถูกกักตัวไว้ในนั้น เพราะจริง ๆ เราต้องการให้พวกมันออกไปสำรวจโลกกว้างต่างหาก ขอให้จำไว้ว่ากรงของพวกมันไม่ได้มีไว้เพื่อใช้เป็นการลงโทษ ในทางตรงกันข้ามกรงมีไว้ใช้สำหรับเป็น “พื้นที่ปลอดภัย” ของพวกมันมากกว่า

ผมสังเกตได้อีกอย่างว่า บางคนจะสอนให้น้องหมาฉี่ใส่แผ่นรองฉี่ และบางครั้งพวกเขาใส่แผ่นรองฉี่เข้าไปในกรงด้วย ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดมากทีเดียว ประการแรก คุณกำลังสอนน้องหมาของคุณว่า พวกมันสามารถฉี่ (หรืออาจจะแย่กว่านั้น) ในกรงของพวกมันได้ ประการที่สอง ถ้าคุณใช้แผ่นรองฉี่วางในบริเวณภายในบ้าน นั่นคือคุณกำลังสอนน้องหมาว่า พวกมันสามารถฉี่ (หรือมากกว่านั้น!) ลงบนพื้นบ้านได้ สำหรับใครที่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเม้นท์ผมเข้าใจได้นะ แต่ถ้าหาคุณมีพื้นที่สวนนอกบ้านที่สามารถออกไปได้ง่าย ๆ คุณควรจะสอนให้พวกมันไปฉี่ข้างนอกมากกว่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ห้ามวางแผ่นรองฉี่ไว้ในกรงเด็ดขาด!

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการฝึกสุนัขหรือปัญหาด้านพฤติกรรมโปรดติดต่อเราที่ 091 654 1960 อีเมล info@k9pointacademy.com หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราที่ www.k9pointacademy.com โดย CPA ได้รับการรับรองจาก Certification Council for Professional Dog Trainers (CCPDT) ในฐานะผู้ประเมิน American Kennel Club (AKC) และสมาชิกแบบมืออาชีพของ IACP

แปลและเรียบเรียงโดย ธิชา

 

 

แจ้งข่าว..คลิกที่นี่